ยินดีต้อนรับ
Home 1 ประวัติและความเป็นมา

ประวัติและความเป็นมา

1.  ข้อมูลทั่วไป

1.1 ที่ตั้งของโรงเรียน

       โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่  199   หมู่ที่  2  บ้านขาม  ตำบลบ้านขาม  อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น  มีระยะทางห่างจากจังหวัดขอนแก่น  25  กิโลเมตร   และห่างจากอำเภอน้ำพอง  24 กิโลเมตร  บนเส้นทางหลวงจังหวัดขอนแก่น – น้ำพอง  โดยมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ               จด       ที่สาธารณประโยชน์

ทิศใต้              จด       ที่สาธารณประโยชน์

ทิศตะวันออก           จด      ทางหลวงจังหวัด ( ขอนแก่น – น้ำพอง)             

ทิศตะวันตก          จด     ที่สาธารณะ  (ป่าช้า )

โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งหมด  42  ไร่  3  งาน  52  ตารางวา

หมายเลขโทรศัพท์         :         0 -4343 – 6126

e  –  mail                 :         prathatpit@thaimail.com

website                   :         www.ptps.ac.th

1.2 คติพจน์ : สุปฏิปณโณ  ภวํ  โหติ   หมายถึง    ผู้ประพฤติดีเป็นผู้เจริญ

1.3 คำขวัญ : จริยะ  สร้างสรรค์   หมายถึง   การประพฤติตนให้เป็นผู้สร้างสรรค์

1.4 สีประจำโรงเรียน :   สีน้ำตาล   หมายถึง   ความมั่นคง

                    สีแสด       หมายถึง   ความสดใส

                                    สีเหลือง     หมายถึง  ความงอกงามทางวัฒนธรรม                            

1.5 ตราประจำโรงเรียน

ตราโรงเรียน

“พระธาตุขามแก่น  แผ่รัศมีอยู่ภายใต้วงกลม” หมายถึง  ความรู้  เกียรติยศชื่อเสียง  ระเบียบวินัยที่แผ่ไพศาลและมั่นคง  เช่นเดียวกับองค์พระธาตุขามแก่น

              อักษรย่อโรงเรียน

พ.ธ.พ  

1.6 ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นมะขาม                                                                                 

            1.7. ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกมะขาม

1.8 ประวัติโรงเรียน                                                                 

โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  ตั้งอยู่เลขที่ 199 บ้านขาม  หมู่ที่  2  ตำบลบ้านขาม  อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น  บนเนื้อที่  42  ไร่เศษ  เดิมมีชื่อว่า  “โรงเรียนขามนครพัฒนศึกษา”  เปิดทำการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา  2535  โดยเป็นสาขาของ  โรงเรียนน้ำพองพัฒนศึกษารัชมังคลาภิเษก  มี  นายโกวิท  จำปาวอ  ปฏิบัติหน้าที่ประสานงานและดูแลสาขา  โรงเรียนดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างจริงจังของสภาตำบลบ้านขามและชุมชนใกล้เคียงวันที่  28  ธันวาคม  2536  กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาล  โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนขามนครพัฒนศึกษา” มี  นายยุทธพงศ์  วชิรปัญญาวัฒน์  ผู้อำนวยการโรงเรียนน้ำพองพัฒนศึกษารัชมังคลาภิเษก  ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

วันที่  7  กรกฎาคม  2537  กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้  นายมนพ  สกลศิลป์ศิริ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

วันที่  3  มกราคม  2538   กระทรวงศึกษาธิการ  ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก                 “ โรงเรียนขามนครพัฒนศึกษา ”  เป็น  “ โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ”  จนกระทั่งปัจจุบัน

ช่วงต้นปี  พ.ศ. 2539  นายมนพ  สกลศิลป์ศิริ  ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ  ณ  กรมสามัญศึกษา สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น  จึงมีคำสั่งให้  นางกุหลาบ  ปุริสาร  ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน โคกสีพิทยาสรรพ์  มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  ในระหว่างวันที่  10  กรกฎาคม  ถึงวันที่  13 พฤศจิกายน  2540 และกรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้นางกุหลาบ  ปุริสาร  ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  ตั้งแต่วันที่  13  พฤศจิกายน  2540

ใน  ปีการศึกษา  2540  โรงเรียนได้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น  จนถึงปีการศึกษา  2542

ปีการศึกษา  2545  โรงเรียนได้รับการประเมินเพื่อปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาจาก   อาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย จนกระทั่งถึงวันที่ 31  มีนาคม  2547 ผู้อำนวยการ  นางกุหลาบ  ปุริสาร  ได้เข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด

วันที่  1  เมษายน  2547  นางชุรีพร  นาเลาห์  ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ  รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  จนถึงวันที่  9  มิถุนายน  2548

วันที่  10  มิถุนายน  2548  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต  4  ได้มีคำสั่งให้  นายวุฒิชัย  อินทรสว่าง  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย

วันที่  2  พฤศจิกายน  2550  โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  ได้สมัครใจถ่ายโอนภารกิจ              การจัดการศึกษาไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  กระทรวงมหาดไทย  จนถึงปัจจุบัน

วันที่  16  ตุลาคม  2556  องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้มีคำสั่งให้ นายวุฒิชัย  อินทรสว่าง  ย้ายไปดำรงตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา  และมีคำสั่งให้  นายภักดี  ศิริพรรณ  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  จนถึง  วันที่  30  กันยายน  2560

วันที่  1  ตุลาคม  2560 องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้มีคำสั่งให้ นายบุญจันทร์  มูลกัน  ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม  มาดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  จนถึงวันที่  31 กรกฎาคม 2561

วันที่  1  สิงหาคม  2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้มีคำสั่งให้ นางสุภาภรณ์  มาอุ้ย  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย  จนถึงปัจจุบัน

1.9 วิสัยทัศน์

                      “สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาได้มาตรฐาน รักกีฬา  รักษ์สิ่งแวดล้อม  น้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน”

            1.10 พันธกิจ (Mission)

                 1.   ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม ความเป็นไทยสมรรถนะ ทักษะ

     เป็นไปตามศักยภาพ

                2.  สรรหาครู บุคลากรทางการศึกษาเพียงพอตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง

                3.  ประสานสัมพันธ์ สร้างและยกระดับการมีส่วนร่วมทางการศึกษากับผู้ปกครอง  ครอบครัว  ชุมชน

     ภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง

                4.  จัดหาและพัฒนาปัจจัย เทคโนโลยี ทรัพยากรทางการศึกษาเพียงพอ มีคุณภาพได้มาตรฐาน

                5.  บริหารจัดการศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

                6.  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการจัดการเรียนการสอน         

1.11  ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ 

          ยุทธศาสตร์ที่  1  ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน

                    กลยุทธ์  1.1  ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม ความเป็นไทย

                    กลยุทธ์ที่  1.2  พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะ  ทักษะเป็นไปตามศักยภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2. ยุทธศาสตร์การสรรหาและพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่  2.1 สรรหาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอเหมาะสมกับมาตรฐาน

                                                 ตำแหน่ง

กลยุทธ์ที่  2.2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญสู่ครูมืออาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3.  ยุทธศาสตร์การประสานสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็งและยกระดับการมีส่วนร่วมทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่  3.1 ประสานสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็งและยกระดับการมีส่วนร่วมทางการ

                                                  ศึกษาของผู้ปกครอง  ครอบครัว  ชุมชนภาคีเครือข่ายทางการศึกษาให้

                                                  ต่อเนื่องเข้มแข็ง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การจัดหาและพัฒนาปัจจัย เทคโนโลยีและทรัพยากรทางการศึกษา

                    กลยุทธ์ที่ 4.1  จัดหาปัจจัย เทคโนโลยี ทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอ หลากหลาย

                                                 มีคุณภาพได้มาตรฐาน

กลยุทธ์ที่ 4.2  พัฒนาปัจจัย เทคโนโลยี ทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอ หลากหลาย

                                                 มีคุณภาพได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

                    กลยุทธ์ที่ 5.1  บริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

ยุทธศาสตร์ที่ 6  ยุทธศาสตร์การน้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                    กลยุทธ์ที่ 6.1 น้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 

  1.   เป้าประสงค์ (Goals)

1. ผู้เรียนมีคุณภาพและมีความสุข

2. ครู และบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอและตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ

3. ผู้ปกครอง ครอบครัว  ชุมชน และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4. สถานศึกษามีปัจจัย เทคโนโลยี ทรัพยากรทางการศึกษาเพียงพอหลากหลายได้มาตรฐาน

5. สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาได้มาตรฐานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

6. สถานศึกษาน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

          1.13 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                 1) รักชาติ  ศาสตร์  กษัตริย์

                 2) ซื่อสัตย์  สุจริต

                 3) มีวินัย

                 4) ใฝ่เรียนรู้

                 5) อยู่อย่างพอเพียง

                 6) มุ่งมั่นในการทำงาน

                 7) รักความเป็นไทย

                 8) มีจิตสาธารณะ

1.14  เอกลักษณ์ของโรงเรียน

                    “สิ่งแวดล้อมดี กีฬาเด่น”

1.15  อัตลักษณ์ของนักเรียน

          “รักกีฬา รักษ์สิ่งแวดล้อม”

ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การจัดหา  สนับสนุน  ทรัพยากรทางการศึกษา

          กลยุทธ์ที่ 1.1  จัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้พอเพียงและเหมาะสม

          กลยุทธ์ที่ 1.2  สนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาให้พอเพียงและเหมาะสม

          กลยุทธ์ที่ 1.3  พัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

          กลยุทธ์ที่ 2.1  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

          กลยุทธ์ที่ 2.2  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

          กลยุทธ์ที่ 2.3  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อสร้างทักษะอาชีพ

          กลยุทธ์ที่ 2.4  พัฒนารงเรียนให้เป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

          กลยุทธ์ที่ 2.พัฒนากระบวนการนิเทศ  กำกับ  ติดตาม ตรวจสอบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          กลยุทธ์ที่ 2.6  พัฒนากระบวนการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษา

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชน

          กลยุทธ์ที่ 3.ส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีคุณภาพ

          กลยุทธ์ที่ 3.พัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีคุณภาพ

          กลยุทธ์ที่ 3.พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ศิลปะ-ดนตรี กีฬา

          กลยุทธ์ที่ 3.ส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชน ที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การสรรหาและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

          กลยุทธ์ที่ 4.1  สรรหาและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอและเหมาะสมตามมาตรฐานตำแหน่ง 

          กลยุทธ์ที่ 4.2  พัฒนาครูแลบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพสู่ความเป็นมืออาชีพ

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

          กลยุทธ์ที่ 5.1  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

          กลยุทธ์ที่ 5.2  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษา

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การยกระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและภาคีเครือข่าย

          กลยุทธ์ที่ 6.1  สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคีเครือข่ายทางการศึกษา

          กลยุทธ์ที่ 6.2  ยกระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายให้มีคุณภาพ

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์  สืบสานศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          กลยุทธ์ที่ 7.1  ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ให้เจริญ มั่นคง และยั่งยืน

          กลยุทธ์ที่ 7.2  อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน

          กลยุทธ์ที่ 7.3  ส่งเสริม สนับสนุนศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่

          กลยุทธ์ที่ 7.4  พัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ต่อศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          กลยุทธ์ที่ 7.5  สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนา ศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการกิจการเด็กและเยาวชน

          กลยุทธ์ที่ 8.1 ส่งเสริม ศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ  กิจการเด็กและเยาวชนที่หลากหลาย

          กลยุทธ์ที่ 8.2พัฒนาศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ  กิจการเด็กและเยาวชนที่หลากหลาย

          กลยุทธ์ที่ 8.3 ส่งเสริมพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ

          กลยุทธ์ที่ 8.4 ส่งเสริมพัฒนากิจกรรมนันทนาการ กิจการเด็กและเยาวชนที่หลากหลาย

          กลยุทธ์ที่ 8.5 สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ กิจการเด็กและเยาวชน

          ยุทธศาสตร์ที่  ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี

          กลยุทธ์ที่  9.1  พัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการด้านการเงิน การคลังให้มีประสิทธิภาพ  โปร่งใสเป็นธรรมและตรวจสอบได้

          กลยุทธ์ที่  9.2  พัฒนาสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้มีความสามารถในการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ

          กลยุทธ์ที่  9.3  จัดหาวัสดุครุภัณฑ์สำนักงานให้พอเพียงและเหมาะสม

          กลยุทธ์ที่  9.4  พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสมัยใหม่ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ   

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน 21 ประเด็นพิจารณา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

      1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

                1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

                 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

                      1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

                      2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น  

                          และแก้ปัญหา

                      3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

                      4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

                      5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

                      6) มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

                1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

                    1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

                    2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

                    3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

                    4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

                 2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

                 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

                 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก

                      กลุ่มเป้าหมาย

                 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

                 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

                 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

                 3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

                 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

                 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

                 3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

คำอธิบาย

มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน

ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการประกอบด้วย ความสามารถใน

การอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่างๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดี

ต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่น

และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกาย

และจิตสังคม

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

      ๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

          ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา

กำหนดในแต่ละระดับชั้น

     ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

และแก้ปัญหา

ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ

โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

     ๓) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตัวเองและการท างานเป็นทีม เชื่อมโยง

องค์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน

ผลผลิต

    ๔) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผู้เรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและ

สังคมในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม

     ๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิม

ในด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่างๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติหรือ

ผลการทดสอบอื่นๆ

    ๖) มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น

การทำงานหรืองานอาชีพ

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     ๑) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่

สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

    ๒) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม

และประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย

    ๓) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติศาสนา

ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี

    ๔) มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์สังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละ

ช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

คำอธิบาย

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจ

อย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา

ในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มี

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้

รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

๒.๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษาชัดเจน

สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของ

สถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและ

ของต้นสังกัดรวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผน

พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบ

ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแล

ช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การน าข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี

ส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๒.๓ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก

กลุ่มเป้าหมาย

สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริม

หลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย หมายรวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย

๒.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มี

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อม

ทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และมีความปลอดภัย

๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

สถานศึกษาจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ใน

การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

คำอธิบาย

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาส

ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและ

นำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียน

ได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง

มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัด

การเรียนรู้โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

๓.๓. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครูครูรักเด็ก

และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือ

และวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้

๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับ

เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้